การขุดค้นทางโบราณคดี ณ บ้านโนนวัด ของ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด

โครงการวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.โครงการช่วงที่ 1. The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two โดย ศาสตราจารย์ชาร์ล ไฮแอม จากมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์

เมือง พระนครหรือเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ทางวัฒธรรมทางแถบศูนย์สูตร มีความน่าสนใจเทียบเท่ากับอาณาจักรของชนเผ่ามายาในประเทศกัวเตมาลาและ เม็กซิโก แต่ยังไม่มีนักวิชาการใดได้ศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรใดต้องศึกษาจากจารึกและโบราณ วัตถุหรือโบราณสถานของอาณาจักรนั้น

นครวัดเป็นหลักฐานที่ดียิ่งในการแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของ อาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี ในอดีตการศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเขมร โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีดังกล่าว

จาก การขุดค้นในครั้งนั้นทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นการตั้งรกราก ของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แหล่งขุดค้นนี้มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งรกรากของสังคมเกษตรกรรมสังคมแรกมีอายุราว 2,100 – 1,250 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานคล้ายบ้านเชียง แต่สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมายกว่าบ้านเชียง และยังคงสภาพความสมบูรณ์ไว้ได้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาความต่อเนี่องของวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏขึ้นในประเทศไทย

โครงการช่วงที่ 2. Environment Change and Society before Angkor : Ban Non Wat and the upper Mun River Catchment in Prehistory โดย ดร.ไนเจล ชาง มหาวิทยาลัยเจมส์คุก ประเทศ ออสเตรเลีย

เนื่อง จากนักวิจัยได้ร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ได้ค้นพบข้อมูลก่อนประวัติศาสตร์มากมายที่แสดงถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในรอบ 5,000 ปี

นักวิจัยจึงประสงค์จะขุดค้นเพิ่มเติมอย่างละเอียดที่บ้านโนนวัด และสำรวจชั้นดินในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครราชสีมาโดยมีประเด็นที่จะศึกษาดังนี้

1.ขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่บ้านโนนวัด เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับอาชีพและประเพณีการฝังศพในยุคต่าง ๆ

2.สำรวจ และศึกษาวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับน้ำที่อยู่เหนือบ้านโนนวัด ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในอดีตของบ้านโนนวัด

3.สร้างฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับบ้านโนนวัดซึ่งกรมศิลปากรสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้

4.สำรวจและขุดค้นชั้นดิน (columns of soil) เพื่อ วิเคราะห์วิวัฒนาการของพืชและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในหมื่นปี ของบริเวณต่าง ๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเทียบเคียงกับบ้านโนนวัด

หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ครบทั้ง 4 ช่วง คือ ยุคหินใหม่ ยุคสำริด และยุคเหล็ก ต่อเนื่องจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ ทวารวดี เขมร อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ซึ่งการเข้ามาศึกษาวิจัยโดยนักวิจัยชาวต่างประเทศ ได้เข้ามาทำการวิจัยทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ในทุกสาขาวิชาการ อันเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนักวิจัยและประชาชนในชุมชนท้องถิ่น

ใกล้เคียง

แหล่งมรดกโลก แหล่งจ่ายไฟ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ แหล่งคริสเตียนลับในภูมิภาคนางาซากิ แหล่งแร่ดีบุกในประเทศไทย แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม แหล่งน้ำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E... http://nonwat.igetweb.com/index.php http://nonwat.igetweb.com/index.php?mo=3&art=28036... http://www.koratculture.com http://www.koratmuseum.com http://www.nonwat.com http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=809... http://gotoknow.org/blog/bannonwat http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?New... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Ban_No...